การศึกษาไทยแบ่งออกเป็นอะไรได้บ้าง

technology

การศึกษาของไทยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนแสดงความคิดเห็นเยอะมาก ต้องทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่พอย้อนกลับไปว่ารู้จักการศึกษาไทยบ้างหรือเปล่า บ้างคนก็อาจจะรู้แต่บางคนก็อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้วการศึกษาไทยเราเป็นอย่างไร มีลักษณะแบบไหน เราเลยขอมาอธิบายการศึกษาไทยให้เข้าใจ เริ่มจากระดับการศึกษาไทยของเราก่อน

ระดับก่อนภาคบังคับ

จริงๆแล้วการเรียนรู้ของมนุษย์เรานั้นเริ่มต้นตั้งแต่ลืมตาดูโลกเลยทีเดียว การเรียนรู้สภาพแวดล้อมและปรับตัวให้ดีขึ้น แต่การศึกษาไทยเราจริงๆ ระดับแรกสุดนั่นคือ ระดับก่อนภาคบังคับ โดยระดับการศึกษานี้จะเริ่มต้นตั้งแต่การเรียนในศูนย์เด็กเล็ก จนกระทั่งเข้าสู่วัยอนุบาล ระดับอนุบาลส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นสองขั้นคือ อนุบาลหนึ่ง และอนุบาลสอง เมื่อผ่านอนุบาลสองแล้วก็จะเข้าสู่การศึกษาภาคบังคับต่อไป

การศึกษาภาคบังคับ

ระดับการศึกษาขั้นต่อไป ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนามนุษย์เลย เนื่องจากเป็นการศึกษาที่เราเรียกว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาจากการจัดการของรัฐโดยไม่มีข้อแม้ หากพ่อแม่ไม่ส่งลูกเข้ามาเรียนจะถือว่ามีความผิดกฏหมายด้วย ระดับการศึกษาภาคบังคับนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 การศึกษาภาคบังคับนี้ทางภาครัฐจะมีการช่วยเหลือด้วยไม่ว่าจะเป็น ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเสื้อผ้า และค่าใช้จ่ายๆอื่นเป็นต้นเพื่อให้การศึกษาภาคบังคับนี้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้เรียน

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

หลังจากผ่านการศึกษาภาคบังคับแล้ว ระดับต่อไปเราเรียกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นระยะเวลา 3 ปีการเรียนระดับนั้นทางภาครัฐไม่ได้บังคับแล้วแต่เป็นการแนะนำว่าควรจะมีความรู้อย่างน้อยถึงระดับนี้เพื่อที่จะดำรงชีพได้ในสังคม โดยแบ่งออกเป็นสองทางเลือก หนึ่งเป็นการเรียนสายสามัญต่อเนื่องเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โดยจะมีการแบ่งแผนการเรียนที่เน้นไปที่ความสามารถเฉพาะทางมากขึ้น แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มสายวิทย์ และกลุ่มสายศิลป์ สองเป็นการเรียนสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น อาชีวะ หรือ พาณิชย์ โดยสายนี้จะเรียกว่า ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เรียนจำนวน 3 ปี

การเรียนระดับปริญญา

ระดับสุดท้ายเป็นการเรียนระดับปริญญาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ที่ต้องการอย่างลึกซึ้งมากขึ้นโดยแบ่งเป็นระดับคือ ปริญญาตรี, โท และ เอก ซึ่งปริญญาตรีจะเริ่มต้นได้หลายเส้นทาง หนึ่งหากจบสายสามัญ(ม.6) ก็สามารถสอบเข้าเรียนระดับปริญญาตรีจากสถาบันต่างๆได้ สองหากเรียนสายอาชีพ เมื่อจบ ปวช. แล้วก็สามารถเรียนต่อเนื่องกับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) อีก 2 ปี จากนั้นก็สามารถไปต่อปริญญาตรีในระบบต่อเนื่องอีก 2 ปี ก็สามารถรับปริญญาได้เหมือนกัน จากที่เล่ามานี้คือการเดินทางคร่าวของคนคนหนึ่งที่จะพัฒนาตัวเองการศึกษาในระบบการศึกษาบ้านเรา อาจจะมองว่าไกลแต่จริงๆแล้วไม่ไกลเลย ใครที่เริ่มเหนื่อยกับการเรียนขอให้พยายามต่อไป